Subjects -> ARCHITECTURE (Total: 219 journals)
| A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z | We no longer collect new content from this publisher because the publisher has forbidden systematic access to its RSS feeds. |
|
|
แนวทางการพัฒนาหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับ Authors: samonwan worrakarn Pages: 14 - 31 Abstract: การศึกษาเพื่อหาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลง มีวัตถุประสงค์คือ (1) ศึกษาแนวคิดภูมิสถาปัตยกรรมและกรณีศึกษาหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมของไทยและต่างประเทศ (2) ศึกษาด้านความต้องการของผู้ประกอบการ และ (3) แนวทางการปรับปรุงหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเก็บข้อมูลจากการศึกษาทฤษฎี แนวคิด กรณีศึกษาจากสถาบันการศึกษา สอบถามจากหน่วยงานองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลทั้งในเชิงสถิติ การเปรียบเทียบเชิงตัวเลขและการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงโรคระบาด COVID-19 ส่งผลให้ศาสตร์ทางด้านภูมิสถาปัตยกรรม จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมและส่งเสริมให้มีการใช้งานภายนอกอาคารมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าหลักสูตรด้านการออกแบบของไทยและต่างประเทศมีความคล้ายคลึงในด้านเนื้อหาสาระรายวิชา... PubDate: 2023-04-29 Issue No: Vol. 5, No. 1 (2023)
กิจกรรมและปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานโรงเรียนผู้สูงอายุ กรณีศึกษา: ตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง Authors: Pornthip Kimnuan Pages: 34 - 48 Abstract: บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความนิยมกิจกรรมและปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการใช้งานโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลบางเป้า อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โดยศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ รูปแบบกิจกรรม และปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานของผู้สูงอายุทั้งในด้านขนาดพื้นที่ใช้สอย ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ จากนั้นทำการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในตำบลบางเป้า จำนวน 100 ตัวอย่าง เพื่อสำรวจความนิยมทำกิจกรรม และปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานโรงเรียนผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความนิยมกิจกรรมในผู้สูงอายุ นิยมทำกิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมการจำเป็นเพื่อมาทำงาน 2) ปัจจัยทางกายภาพด้านพื้นที่ใช้สอยโรงเรียนผู้สูงอายุปัจจุบันมีขนาดไม่เพียงพอต่อกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ของโรงเรียนผู้สูงอายุ 3) ปัจจัยองค์ประกอบทางกายภาพเพื่ออำนวยความสะดวกที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานผู้สูงอายุในระดับมากที่สุด คือ องค์ประกอบเพื่อความปลอดภัย ประกอบด้วย ห้องน้ำมีอุปกรณ์เอื้อต่อการใช... PubDate: 2023-04-29 Issue No: Vol. 5, No. 1 (2023)
Authors: Rutchanoophan Kumsingsree Pages: 51 - 67 Abstract: โครงสร้างทางสถาปัตยกรรม เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ระบบโครงสร้างไม่ใช่แค่ชิ้นส่วนหรือวัตถุที่ส่งผ่านแรงกระทำเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ในการสร้างสรรค์รูปทรงและที่ว่างทางสถาปัตยกรรมอีกด้วย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทำความเข้าใจแนวคิดโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม (2) สังเคราะห์ประเด็นสำคัญจากแนวคิดโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมสู่การศึกษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมไผ่แบบร่วมสมัย โดยใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากหนังสือ งานวิจัย บทความ สืบค้นข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านฐานข้อมูลในระดับนานาชาติ ผลการศึกษา พบว่า แนวคิดโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับคุณสมบัติวัสดุที่ใช้ การรับแรงในโครงสร้าง ลักษณะรูปทรงโครงสร้าง และที่ว่างทางสถาปัตยกรรม ซึ่งประเด็นเหล่านี้นำไปสู่กรอบแนวคิดในการศึกษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมไผ่แบบร่วมสมัย โดยมีสาระสำคัญหรือปัจจัยที่ต้องพิจารณาดังนี้ (1) คุณสมบัติเชิงกลของไผ่ที่ใช้ก่อสร้าง (2) รูปทรงโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม (3) ประเภทชิ้นส่วนโครงสร้างและจุดรองรั... PubDate: 2023-04-29 Issue No: Vol. 5, No. 1 (2023)
แนวทางป้องกันการเกิดอัคคีภัยบริเวณย่านเมืองเก่า: กรณีศึกษา เมืองเก่าสุรินทร์ Authors: saitran choowichai Pages: 70 - 85 Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอัคคีภัย เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย และเสนอแนะแนวทางในการป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยศึกษาปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน เส้นทางคมนาคม ที่ตั้งหัวปะปาดับเพลิง รัศมีการให้บริการของสถานีดับเพลิง การใช้ประโยชน์ของอาคาร ประเภทของอาคาร จำนวนชั้นของอาคาร วัสดุผนัง และความหนาแน่นของอาคาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีค่าถ่วงน้ำหนักของปัจจัย โดยการซ้อนทับข้อมูล (Overlay Analysis) ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) พบว่า พื้นที่เสี่ยงมากที่สุด 0.21 ตร.กม ร้อยละ 6.06 เสี่ยงมาก 0.63 ตร.กม ร้อยละ 17.99 เสี่ยงปานกลาง 0.90 ตร.กม ร้อยละ 25.61 และเสี่ยงน้อย 1.99 ตร.กม ร้อยละ 56.39 เห็นได้ว่า นอกเขตเมืองเก่ามีความเสี่ยงน้อย ในขณะพื้นที่เขตเมืองมีความเสี่ยงปานกลางถึงมากที่สุด พบบริเวณย่านการค้า พาณิชยกรรม และย่านชุมชนดังเดิม ซึ่งโครงสร้างอาคารใช้ประเภทไม้ที่เอื้อต่อการลุกไหม้ของไฟ และชุมชนบางแห่งรถดับเพลิงไม่สามารถเข้าระงับเหตุได้ เนื่องจากเส้นทางเป็นตรอก ซอก ซอย จึงพบแนวทางการป้องกันกū... PubDate: 2023-04-29 Issue No: Vol. 5, No. 1 (2023)
การบริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับฐานข้อมูลสารสนเทศเมือง เพื่อการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพ กรณีศึกษาเทศบาล นครนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา Authors: Sontaya Ratanatip Pages: 88 - 106 Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศของเมือง รวบรวมข้อมูลและปรับแก้ข้อมูลขนาดใหญ่ และวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในเชิงลักษณะทางกายภาพของเมือง โดยเสนอแนะแนวทางด้านการบริหารจัดการพื้นที่ให้เทศบาลนครนครราชสีมา รวมถึงการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การลงสำรวจพื้นที่และการสังเกตในพื้นที่แบบมีส่วนร่วม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหมด 8 หน่วยงาน ผลการวิจัยพบว่า การจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศเมืองมากที่สุด 3 ลำดับ สำนักการคลัง มากที่สุด จำนวน 13 ชั้นข้อมูล รองลงมาคือสำนักการประปา เทศบาลนครนครราชสีมา จำนวน 4 ชั้นข้อมูล และกรมที่ดิน 3 ชั้นข้อมูล การศึกษาการรวบรวมข้อมูลและปรับแก้ข้อมูลขนาดใหญ่ของเมือง พบว่า การเปรียบเทียบการปรับแก้และอัพเดทข้อมูลมากที่สุด 3 ลำดับ สำนักการคลังมากที่สุด จำนวน 9 คะแนน รองลงมาคือกรมที่ดิน จำนวน 8 คะแนน และกรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักการประปา และกรมธนารักษ์ จำนวน 7 คะแนน การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในเชิงลักษณะทางกายภาพของเมือง พบว่า วิ... PubDate: 2023-04-29 Issue No: Vol. 5, No. 1 (2023)
นวัตกรรมการบริการฝ่ายวิชาการ เพื่อการให้บริการที่เป็นเลิศ กรณีศึกษา คณะสถาปัตยกรรมกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Authors: Sirinapa wongcharee Pages: 109 - 126 Abstract: บทคัดย่อ นวัตกรรมการบริการฝ่ายวิชาการ เพื่อการให้บริการที่เป็นเลิศ กรณีศึกษา คณะสถาปัตยกรรมกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและนวัตกรรมการบริการ ฝ่ายวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ เพื่อการออกแบบรูปแบบการให้บริการของฝ่ายวิชาการและความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้รับบริการให้มีประสิทธิภาพ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตและคณาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน ผลจากการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านบุคลิกภาพของเจ้าหน้าที่ ปัจจัยด้านระบบการบริการ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการ ปัจจัยด้านระยะเวลาการให้บริการ ปัจจัยด้านความสะดวกในการบริการ มีความสัมพันธ์กับนวัตกรรมการบริการ อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาวิเคราะห์ จะถูกนำไปใช้&... PubDate: 2023-04-29 Issue No: Vol. 5, No. 1 (2023)
นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายแอกทีฟสตรีทแวร์ สำหรับกลุ่มซีเนียล เจเนอเรชัน ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเรดิโอฟรีเควนซี่ ไอเดนทิฟิเคชั่น เทรคเกอร์-เอลเดอลี Authors: Warantee Chalardsoontornwatee Pages: 129 - 143 Abstract: งานวิจัยการสร้างสรรค์สินค้านวัตกรรมเครื่องแต่งกายแอกทีฟสตรีทแวร์ (Active Street wear) สำหรับกลุ่มซีเนียลเจเนอเรชั่น (Zennials Generation) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาแนวทางในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายแอคทีฟสตรีทแวร์ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเรดิโอฟรีเควนซี ไอเด็นทิฟิเคชัน เทรคเกอร์ เอลเดอลี และหลักการออกแบบฟังก์ชันนอลแฟชั่น (2) หาแนวทางในการสร้างสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายแอคทีฟสตรีทแวร์ สำหรับตลาดกลุ่มเป้าหมาย ซีเนียล เจเนอเรชัน โดยศึกษาข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมถึงการศึกษาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับปัจจัยเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แบ่งกรอบการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) ข้อมูลด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเรดิโอฟรีเควนซี ไอเด็นทิฟิเคชัน แทรกเกอร์ เอลเดอลี และหลักการแนวคิดฟังก์ชันนอลแฟชั่นดีไซน์ ร่วมกับเครื่องแต่งกายแฟชั่น (2) ข้อมูลด้านตลาดสินค้าแฟชั่นประเภท แอคทีฟสตรีทแวร์ ประกอบ กลุ่มผู้บริโภค ซีเนียล เจเนอเรชัน (3) ข้อมูลด้านการออกแบบสũ... PubDate: 2023-04-29 Issue No: Vol. 5, No. 1 (2023)
การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายเพื่อเสริมศักยภาพการออกกำลังกายประเภทวิ่งเหยาะของกลุ่มผู้สูงวัยช่วงต้นที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี Authors: dhea Khotradha Pages: 146 - 166 Abstract: โครงการวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายเพื่อเสริมศักยภาพการออกกำลังกายประเภทวิ่งเหยาะของกลุ่มผู้สูงวัยช่วงต้นที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เก็บรวบรวมข้อมูลด้านสรีระศาสตร์ ด้านวัสดุสิ่งทอ ด้านการออกแบบและตัดเย็บเพื่อใช้สร้างสรรค์ชุดออกกำลังกายประเภทวิ่งเหยาะ 2) สร้างสรรค์ชุดออกกำลังกายประเภทวิ่งเหยาะที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้สูงวัยช่วงต้นอายุระหว่าง 60-70 ปี 3) ประเมินผลผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสร้างสรรค์ชุดออกกำลังกายประเภทวิ่งเหยาะ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงวัยช่วงต้นที่มีอายุระหว่าง 60-70 ปี ณ สมาคมชมรมนักวิ่งแต้จิ๋ว เขตสาทร กรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน เพศชาย 30 คน และเพศหญิง 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์หาข้อมูลทางสถิติค่าร้อยละ (Percentages) ค่าเฉลี่ย (Means) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviations) ผลการวิจัย พบว่า การสร้างสรรค์ชุดออกกำลังกายของผู้สูงวัยคือ เสื้อคอกลมผ่าหน้าติดซิป วัสดุที่ใช้ผ้าโพลิเอสเตอร์ 90 เปอร์เซ็นต์ ทอผสมกับเส้นใยสแปนเด็กซ์ 10 เปอรŮ... PubDate: 2023-04-29 Issue No: Vol. 5, No. 1 (2023)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนมือถือ สำหรับการอ่านแบบรูป 2 มิติ Authors: ณรงค์ฤทธิ์ ว่องไว, Wittaya Srisomboon Pages: 169 - 185 Abstract: งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling ; BIM) กับความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality ; AR) สำหรับช่วยสนับสนุนการอ่านแบบรูป 2 มิติจากกระดาษ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้อย่างแพร่หลาย แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องประสิทธิการสื่อสารระหว่างทีมที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องใช้จินตนาการและทักษะเชิงพื้นที่แปลงจากรูป 2 มิติเป็น 3 มิติ โดยใช้ Autodesk Revit ในการสร้างและเพิ่มเติมข้อมูลในแบบจำลองกับการใช้แอพพลิเคชั่น Augin ในการนำเสนอรูปแบบความเป็นจริงเสริม โดยมีการประเมินความพึงพอใจโดยใช้แบบสอบถามกับนิสิตวิศวกรรมโยธา 75 คน โดยใช้บ้านพักอาศัย 2 ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นกรณีศึกษา จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยมและความเหมาะสมของ AR โดยการซ้อนทับแบบจำลองเสมือน 3 มิติบนกระดาษแบบรูป 2 มิติ ผลสรุปความพึงพอใจ 3 ลำดับแรก คือ 1) การแสดงสิ่งก่อสร้างในมุมมอง 3 มิติ 2) การแสดงข้อมูลรายละเอียดส่วนต่าง ๆ ของสิ่งก่อสร้าง3) การแสดงลำดับการก่อสร้าง 4) การเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารในโครงการ และ 5) การแสดงตำแหน่งของสิ่งก่อสร้าง โดยคะแนนรวมเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระ... PubDate: 2023-04-29 Issue No: Vol. 5, No. 1 (2023)
Authors: Anuchat Leeanansaksiri Pages: 188 - 200 Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการรับแรงของจุดเชื่อมต่อแบบต่าง ๆ ในโครงทรัชไม้ไผ่ โดยเลือกใช้ไม้ไผ่เลี้ยงมาประกอบโครงสร้างแบบโฮว์ทรัช ให้น้ำหนักจริงด้วยปั๊มมือจนเกิดการวิบัติและเปรียบเทียบผลจากการทดลองกับผลทางทฤษฎีโครงสร้าง โดยมีจุดต่อทั้งหมด 5 แบบคือ แบบแผ่นประกับไม้อัดคู่ยึดด้วยสลักไม้ไผ่, แบบแผ่นประกับไม้อัดคู่ยึดด้วยสลักเกลียว, แบบแผ่นประกับไม้อัดเดี่ยวยึดด้วยสลักเกลียว, แบบแผ่นประกับไม้อัดเดี่ยวยึดด้วยสลักเกลียวเสริมด้วยปูนนอนชริ้งค์ และแบบแผ่นเหล็กรูเอนกประสงค์ยึดด้วยสลักเกลียว จากผลการศึกษาพบว่าจุดต่อแบบแผ่นประกับไม้อัดคู่ยึดด้วยสลักเกลียวรับน้ำหนักได้สูงสุดเท่ากับ 1,912 kg แต่จุดต่อที่ดีที่สุดคือแบบแผ่นเหล็กรูเอนกประสงค์ยึดด้วยสลักเกลียวเนื่องจากทำให้องค์อาคารเกิดการวิบัติก่อนจุดต่อ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างจุดต่อแต่ละประเภทพบว่าจุดต่อที่ใช้แผ่นประกับไม้อัดคู่จะรับน้ำหนักได้มากกว่าแผ่นประกับไม้อัดเดี่ยว 68% ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ยึดแผ่นประกับพบว่าสลักเกลียวจะช่วยให้การรับแรงได้มา&... PubDate: 2023-04-29 Issue No: Vol. 5, No. 1 (2023)
|