Subjects -> ALTERNATIVE MEDICINE (Total: 106 journals)
| A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z | The end of the list has been reached or no journals were found for your choice. |
|
|
Authors: พยอม เพียรค้า, ศิริกาญจน์ จินาวิน Pages: 80 Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือด ณ ศูนย์ไตเทียม 1 โรงพยาบาลแพร่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 52 คน กลุ่มควบคุม 52 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ประกอบด้วย ก) การให้ความรู้เกี่ยวกับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ข) การเตรียมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและ ค) การพยาบาลขณะรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และ 2) แบบบันทึกรายงานการฟอกเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติฟิชเชอร์ เอกแซค และ สถิติ ที ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีจำนวนครั้งของการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .01) และมีค่าความดันซีสโตลิกและดันไดแอสโตลิกสูงกว... PubDate: 2022-12-06 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
Authors: กฤษณี สุวรรณรัตน์, รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ Pages: 1 - 15 Abstract: การจัดการความรู้ในองค์กรเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและงานองค์กร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการเขียนโครงร่างวิจัยขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกผ่านกระบวนการจัดการความรู้ที่ทุกคนมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนทั้งความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในตัวคนและความรู้ที่ได้จากการค้นคว้า ภายใต้กรอบแนวคิดสามเหลี่ยมการจัดการความรู้ 3 มิติ ได้แก่ 1) เนื้อหาองค์ความรู้ 2) กระบวนการของการเรียนรู้ และ 3) การมีส่วนร่วมของคนในองค์กร มาผสมผสานกับกระบวนการการจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร) โดยขั้นตอนที่สำคัญของการเขียนโครงร่างวิจัยขอทุนภายนอก 1) การเตรียมตัวพัฒนาโครงร่างวิจัย 2) การศึกษาการเขียนโครงร่างให้พิชิตทุนภายนอก 3) การบริหารทีมวิจัยและทรัพยากรในการพัฒนาโครงร่างวิจัย และ 4) การเตรียมตัวเพื่อส่งโครงร่างวิจัย (submission) ขอทุนภายนอก แนวทางการเขียนโครงร่างวิจัยนี้สามารถเป็นแนวทางให้กับนักวิจัยหน้าใหม่ในการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากภū... PubDate: 2022-09-22 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
Authors: เทพ นันทพูลทรัพย์, วันวิสา ภูแช่มโชติ, พีระพงษ์ เดียงสา, ปิยาอร จวนชัยภูมิ, สุดารัตน์ พุทธเสน, กัญญาณัฐ มะณี Pages: 15 - 32 Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความชุกของหนอนพยาธิในกลุ่มวัยทำงาน คือ กลุ่มวัยทำงานที่ทำงานนอกและในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดอุบลราชธานี และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อหนอนพยาธิในกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 20-60 ปี ที่ทำงานทั้งในและนอกโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 425 คน แบ่งเป็นกล่มวัยทำงานนอกโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 272 คน และในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 153 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ย ที่ตั้งของที่ทำงานหรือโรงงาน ประวัติการตรวจหาพยาธิ ผลการตรวจหนอนพยาธิและประวัติการรักษาโรคหนอนพยาธิ การเก็บสิ่งส่งตรวจและการตรวจหาไข่พยาธิ เก็บข้อมูลโดยการเก็บอุจจาระตรวจหาไข่หนอนพยาธิด้วยวิธี Kato’s thick smear วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลและความชุกหนอนพยาธิ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน Fisher’s Exact Test สำหรับหาความสัมพันธ์กับกา... PubDate: 2022-09-22 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
Authors: ตยารัตน์ พุทธิมณี, รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย Pages: 16 - 32 Abstract: โรคไตเรื้อรัง เป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำคัญที่มีสัดส่วนการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแลส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อการจัดการพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมและผลลัพธ์ที่ไม่ดี บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงความสำคัญของความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปฏิบัติทางคลินิกในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแล โดยกล่าวถึง โรคไตเรื้อรัง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสำคัญของความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแล ในการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแล การนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติทางคลินิก รวมทั้งการอภิปรายผลจากการศึกษาครั้งก่อน เพื่อให้เห็นความสำคัญของความรอบรู้ด้านสุขภาพในการนำไปสู่ผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพที่ดีขึ้น PubDate: 2022-12-01 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
แนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Authors: Kanittha Sripirom, Pajaree Polprasert, Natthanan Khongyingyai Pages: 51 - 68 Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรม ความพร้อมและแนวทางในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 แบ่งการศึกษาเป็น 2 ขั้นตอนที่ 1 การดำเนินกิจกรรมและความพร้อมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสอบถาม ผู้อำนวยการ/ผู้ที่ดูแลโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 32 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ หรือการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าช่วงการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 โรงเรียนผู้สูงอายุส่วนใหญ่งดจัดกิจกรรม ไม่ว่าด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และด้านเศรษฐกิจ สำหรับความพร้อมในการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุภายใต้การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ภาพรวมมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก สำหรับแนวทางการบริหารจัดการของโรงเรียนผู้สูงอายุในช่วงการแพร่ระบาดที่... PubDate: 2022-12-07 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ของประชากรเขตอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง Authors: จันทร์จีรา ยานะชัย, ประจักษ์ ขันเวท, ประจวบ แหลมหลัก Pages: 81 - 103 Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 80 คน ได้มาอย่างเจาะจง แบ่งเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 40 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมในโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจำนวน 4 ครั้ง และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คนได้รับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยวิธีปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ แบบประเมินระดับคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยง การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบประเมินทั้งชุดได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ความเที่ยงของเครื่องมือชุดที่ 1 โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Independent T test และ Dependent T test ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้า... PubDate: 2022-12-06 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
Authors: Kawintra Khantharot First page: 104 Abstract: ที่มาและความสำคัญ: ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อหลายด้าน และกลุ่ม LGBT เป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาด้านนี้สูงกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังมีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพจิตไม่มากนัก วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตในกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับสุขภาพจิตในกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ cross-sectional study ในบุคคลทั่วไปโดยคัดผู้ที่แสดงออกถึงความหลากหลายทางเพศ ผู้เข้าร่วมวิจัยตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน แบบสอบถามประสบการณ์ของชาว LGBT และแบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ ที่พบมากที่สุด คือ เลสเบี้ยน เป็นนักเรียน/นักศึกษา ระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 20-30 ปี และรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท แต่ปัจจัยพื้นฐาน อาทิ เช่น เพศ อายุ และรายได้ ไม่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิต ประสบการณ์ในอดีตที่สัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตในกลุ่มตัวอย่าง 3 อันดับแรก ได้... PubDate: 2022-12-07 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วย Authors: O-PAS PRAMOONSIN Pages: 131 - 148 Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและสร้างสมการที่สามารถจำแนกการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตอำเภอเมือง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้และไม่ได้ในเขตอำเภอเมือง จำนวน 396 คน เครื่องมือในการวิจัย มี 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ปัจจัยจำแนกการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตอำเภอเมือง เครื่องมือผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ข้อมูลส่วนบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ จำนวน, ร้อยละ และ วิเคราะห์ปัจจัยจำแนก โดยวิธี Wilk’s Lambda เพื่ออธิบายความแตกต่างภายในกลุ่ม และสร้างสมการการจำแนกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรอิสระที่สามารถจำแนกกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้และควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ มีทั้งหมด 8 ตัวแปร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<.05) เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ก... PubDate: 2022-12-07 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ของศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ที่ยั่งยืน Authors: somkiat sritaratikun First page: 137 Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้องรัง การให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ยั่งยืน และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและการสร้างสมการพยากรณ์ที่ส่งผลต่อการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) คือ ผู้ให้และผู้รับบริการคลินิกโรคเรื้อรัง ศสมช. หมู่ 9 บ้านป่าเหมือดสุขสำราญ ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน จำนวน 289 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งผ่านการตรวจหาความตรง ของเนื้อหา(Content Validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน แบบสอบถามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ ในการพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และแบบสอบถามการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนที่ยั่งยืน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ .942 และ .934 ตามลำดับ ผลการวิจัย พบว่า บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป... PubDate: 2022-12-07 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันและควบคุม โรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา Authors: ดร.กนกวรรณ เอี่ยมชัย First page: 155 Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมด้านการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าและความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคพิษสุนัขบ้ากับพฤติกรรมด้านการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา พื้นที่วิจัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 393 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามลักษณะถามความถี่ในการปฏิบัติ 3 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานใช้ค่าไคว์ สแคว์ ผลการวิจัย พบว่า 1.ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมด้านการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในระดับปานกลางคือปฏิบัติบ้างเป็นบางครั้ง 2.ปัจจัยด้านตำบลที่อาศัยมีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรเพศ อายุ รายได้ของครอบครัว ระดับการศึกษา อาช&... PubDate: 2022-12-07 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
การประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ภาคทดลอง รายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) Authors: วันวิสาข์ ชูจิตร First page: 170 Abstract: การวิจัยแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผล บริบท, ปัจจัยนำเข้า, กระบวนการ และผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนภาคทดลองรายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากประชากรซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต จำนวน 158 คน และเชิงคุณภาพโดยเลือกแบบสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) จำนวน 30 คน, เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (ภาคทดลอง) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” และแนวประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและนำมาวิเคราะห์ประเด็นร่วม ผลการวิจัยพบว่า การประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (ภาคทดลอง) รายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้านปัจจัยนำเข้าของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป ร้อยละ 96.84 ส่วนภาพรวมของอาจารย์ผู้สอน อยู่ในระดับมากที่สุด(μ= 4.61, σ = 0.46) โดยหัวข้อที่มีระดับคะแ$... PubDate: 2022-12-07 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
- ปัจจัยพยากรณ์
การมองเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง Authors: Dr. Budsarin Padwang First page: 195 Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมองเห็นคุณค่าในตนเองและปัจจัยพยากรณ์ การมองเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง จำนวน ๒๖๖ คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบ หลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2563 ถึง กรกฎาคม 2564 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามภาวะจิตสังคมและการมองเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ .เท่ากับ 0.75 และ .8๓ ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า การมองเห็นคุณค่าในตนเองของกลุ่มตัวอย่าง โดยภาพรวมอยู่ในระดับระดับสูง (M = 3.26, SD = 0.684) ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ การมองเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ได้แก่ ด้านอัตมโนทัศน์ (β = .376) ด้านบทบาทหน้าที่ (β = .329) ด้านสัมพันธภาพ (β = .201) โดยสามารถร่วมพยากรณ์ การมองเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังได้ร้อยละ 48.5 (R2 = .485 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ พย&... PubDate: 2022-12-07 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
- The Effects of Self – Efficacy Promoting Program on Falls Prevention
among Older Community Dwellers in Phrae Province Authors: Saowapa Dedkhard First page: 213 Abstract: ปัจจุบันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่พบบ่อยและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จํานวน 56 คน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 28 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบคัดกรองความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน (Thai Frat) 2) โปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน 3) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.86 และ 4) แบบทดสอบความรู้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.81 วิเคราะห$... PubDate: 2022-12-10 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
Authors: กฤติยา ไกรสุวรรณ First page: 231 Abstract: การวิจัยแบบศึกษาไปข้างหน้าเชิงสังเกตในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยสะเก็ดเงินระดับปานกลางขึ้นไปที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยารับประทานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรคือ ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินทั้งหมด 321 คนได้รับการวินิจฉัยระดับความรุนแรงปานกลางขึ้นจากค่าประเมินระดับความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน (PASI score) โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เข้าเกณฑ์ตามคุณสมบัติ จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษา ประกอบด้วย แบบสอบถามโดยแพทย์คลินิกโรคผิวหนัง ทำแบบสอบถามจากการซักประวัติข้อมูลส่วนบุคคล ชนิดและความรุนแรงของโรคและข้อมูลการรักษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินระดับปานกลางถึงรุนแรงทั้งหมดตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา 87 คน และตอบสนองต่อการรักษาโดยยารับประทาน 65 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติ STATA 16.0 วิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยารับประทาน โดยใช้สถิ$... PubDate: 2022-12-11 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
ผลของโปรแกรมการศึกษาทางไกลต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลของตนเองเพื่อชะลอการสะสมเหล็กในร่างกายของผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคธาลัสซีเมีย ในจังหวัดลำปาง Authors: จิตอารี ชาติมนตรี, จิราพร เป็งราชรอง, ชมพูนุท แสงวิจิตร, ฟองจันทร์ กาญจนไพศิษฐ์, เสาวลักษณ์ เวียงทอง Pages: 246 - 264 Abstract: การวิจัยเป็นกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการศึกษาทางไกลต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลของตนเองเพื่อชะลอการสะสมเหล็กในร่างกายของผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคธาลัสซีเมีย ในจังหวัดลำปาง อายุ 12-15 ปี จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 10 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการศึกษาทางไกล ประกอบด้วย วิดีโอมัลติมีเดีย และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประเมินผลโดยแบบทดสอบความรู้เรื่องภาวะเหล็กเกิน ได้ค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ 0.70 และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองตามกรอบแนวคิดการดูแลตนเองของโอเร็ม การติดตามกระตุ้นและประเมินพฤติกรรมผ่าน แอพพลิเคชั่นไลน์ โดยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดย แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอการสะสมเหล็กในร่างกายสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 Ũ... PubDate: 2022-12-18 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
พัฒนารูปแบบการบริหารอัตรากำลังพยาบาลดูแลผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลลำปาง Authors: เบญจมาส วงศ์มณีวรรณ, ถาวร ล่อกา, กัญญ์ณพัชญ์ ศรีทอง Pages: 265 - 282 Abstract: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารอัตรากำลังพยาบาลดูแลผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลลำปาง ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม 2565 ในพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนัก 165 คน ดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ การวางแผนการพัฒนา การนำกิจกรรมการพัฒนาสู่การปฏิบัติ การสังเกตและติดตาม และ การสะท้อนคิด เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกผลการดำเนินงาน แบบประเมินการรับรู้การปฏิบัติแบบยืดหยุ่น และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้รูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบ ที ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิจัย พบว่า 1. สถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความสุขในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ระบบการทำงานที่ไม่ยืดหยุ่น ตารางการปฏิบัติงานไม่เอื้อต่อสมดุลชีวิต ขาดการมีส่วนร่วมในการออกแบบตารางปฏิบัติงาน ภาระงานด้านเอกสารที่มากเกินจำเป็น ชั่วโมงให้บริการผู้ป่วยลดลง 2. รูปแบบการบริหารอัตรากำลังพยาบาลดูแลผู้ป่วยวิกฤต... PubDate: 2022-12-18 Issue No: Vol. 9, No. 2 (2022)
|