|
|
- Effects of Arm Swing Exercise and Dietary Control Program on Body Mass
Index and Waist Circumference Among Obese Person in Maharaj Nakorn ChiangMai Hospital Authors: สุธินีย์ เขียวดี, นงลักษณ์ อินตา Pages: 1 - 15 Abstract: โรคอ้วนเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก การออกกำลังกายแบบแกว่งแขนและการควบคุมอาหาร เป็นวิธีการจัดการที่ถูกนำมาใช้กับโรคอ้วน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบขนาดเส้นรอบเอวและดัชนีมวลกายภายในและระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแกว่งแขนและการควบคุมอาหารและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิด 2 กลุ่มวัดก่อน – หลัง กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้มีโรคอ้วนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ และกลุ่มทดลองซึ่งได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแกว่งแขนและควบคุมอาหารเป็นเวลา 16 สัปดาห์ กลุ่มละ 26 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิทอล สายวัดรอบเอว แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล โปรแกรมการออกกำลังกายแบบแกว่งแขนและการควบคุมอาหารในผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน คู่มือการออกกำลังกายแบบการแกว่งแขน วิดีทัศน์เสนอตัวแบบการออกกำลังกายแบบแกว่งแขนลดพ&... PubDate: 2023-08-20 Issue No: Vol. 10, No. 2 (2023)
การพัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรคในเรือนจำกลางนครพนม โดยกระบวนการมีส่วนร่วม กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม Authors: ขวัญชัย ประเสริฐยิ่ง Pages: 16 - 30 Abstract: การวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรคในเรือนจำให้เป็นไปตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำของกระทรวงสาธารณสุข โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของผู้วิจัย ทีมสหวิชาชีพ เจ้าหน้าที่เรือนจำ และภาคีเครือข่าย ขั้นตอนการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาบริบท ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรค ระยะที่ 3 การทดลองและศึกษาผลการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาสถานการณ์พบว่ามี 3 ประเด็นหลัก ที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานได้แก่ 1) รูปแบบการดำเนินงานวัณโรคที่ยังไม่เชื่อมโยงกันของหน่วยงาน 2) บทบาทผู้เกี่ยวข้องของผู้มีส่วนร่วมที่ยังไม่มีบทบาทที่ชัดเจน 3) ระบบรายงานข้อมูลและติดตามการรักษาที่ไม่ต่อเนื่อง จึงนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรคในเรือนจำโดยใช้กรอบแนวคิด CIPP Model เกิดนวัตกรรมขึ้นมา 4 นวัตกรรม ได้แก่ 1) TB 4Screen Model 2) One-Stop Care Model 3) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ 4) การจัดระบบส่งต่อและให้คำปรึกษา โดยผลการพัฒนū... PubDate: 2023-08-28 Issue No: Vol. 10, No. 2 (2023)
- การสัมผัสฝุ่นละออง PM2.5
กับอาการกำเริบของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง Authors: ประเสริฐ สุเมธวานิชย์ Pages: 31 - 43 Abstract: การวิจัยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางโดยรวบรวมข้อมูลไปข้างหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 กับอาการกำเริบแบบเฉียบพลันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารักษาที่โรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึง 30 กันยายน 2565 มีจำนวนผู้ป่วยรวม 909 คน ใช้การวินิจฉัยโรคตาม ICD 10 (J44.1,J44.8 และ J44.9) เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป, ข้อมูลการรักษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และข้อมูลปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ที่วัดค่าจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ วิเคราะห์ข้อมูลสถิติหาความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วย Pearson’s correlation เปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงด้วย Odds ratio (OR) โดยระดับนัยสำคัญน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา จำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการกำเริบแบบเฉียบพลันของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแปรผันตรงกับปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้น (r=0.536, p-value < 0.001) โดยช่วงเวลาที่ฝุ่น PM 2.5 มีค่ามากกว่า 50 µg/m3 เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีอาการกำเริบ (adjusted OR=1.47, 95% CI 1.12-1.94, p-value=0.006) นอกจากนี้ประวัติส... PubDate: 2023-08-28 Issue No: Vol. 10, No. 2 (2023)
การเรียนรู้ในสถานการณ์จำลองทางคลินิก ของนักศึกษาพยาบาล ช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Authors: ฉัตรฤดี ภาระญาติ, อาภากร เปรี้ยวนิ่ม, เจือจันทน์ เจริญภักดี, กนกวรรณ ชัยสิทธิ์สงวน Pages: 44 - 58 Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองระหว่างการเรียนการสอนภาคปฏิบัติในหอผู้ป่วยจริงกับการเรียนการสอนในสถานการณ์จำลองทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล ช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรเลือกแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้นปีที่ 3 ทั้งสิ้น 98 คน เป็นกลุ่มฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยจริงจำนวน 61 คนโดยฝึกตามปกติช่วงที่ไม่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และกลุ่มฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลองทางคลินิก จำนวน 37 คนโดยฝึกในช่วงการระบาดหนักของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะเวลาการฝึก 4 สัปดาห์ ทั้งสองกลุ่ม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย1) แผนการสอนภาคปฏิบัติรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ1 สำหรับภาคปฏิบัติในหอผู้ป่วยจริงและแผนการสอนภาคปฏิบัติในสถานการณ์จำลองทางคลินิก 2) แบบประเมินความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86, 0.90 ตามลำดับเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนกุมภาพันธุ์ ถึงเดือนเมษายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิ... PubDate: 2023-09-29 Issue No: Vol. 10, No. 2 (2023)
การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation ในคลินิก ARI ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง Authors: กาญจนา ใจดี, อาคม มีเมล์, ศิริลักษณ์ มีเมล์, วันเพ็ญ ทำว่อง Pages: 59 - 79 Abstract: การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงหลายด้าน ทั้งระบบโครงสร้างและการบริการของโรงพยาบาล การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบจะช่วยลดการแพร่กระจายและลดความรุนแรงของโรคได้ การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation 2) พัฒนาระบบบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolationและ 3) ศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาระบบบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation โดยการพัฒนาระบบบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ในคลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ARI แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ดำเนินการพัฒนาระบบโดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนา ADDIE model ได้แก่ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ (Analysis),ระยะออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D and D), การทดลองใช้ (Implementation : I), การประเมินผลและปรับปรุงระบบ (Evaluation : E) ศึกษาในช่วงมีนาคม- พฤษภาคม 2565 เครื่องมือวิจัยคือ ระบบบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ในคลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (Acute Respiratory Infection: ARI) แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และแบบประเมินผลลัพธ์ได้แก่ แบบบันทึกข้... PubDate: 2023-09-29 Issue No: Vol. 10, No. 2 (2023)
พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในชุมชน: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ Authors: จตุพงษ์ พันธ์วิไล, นิรมัย มณีรัตน์, พัชร มธุรมน, สุพัตรา ปวนไฝ, จิราภรณ์ ภักดี, รุ่งนภา จอมธรรม Pages: 80 - 93 Abstract: โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญที่สามารถป้องกันได้ของการเสียชีวิต และความพิการทั่วโลก การป้องกันด้วยการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพจึงมีประสิทธิภาพมากกว่ารักษาเมื่อเกิดโรค การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และประเมินผลรูปแบบพฤติกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงในชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 20 คน และกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 100 คน โดยคัดเลือกกลุมตัวอยางแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑที่กำหนด การศึกษาประกอบด้วย 3 ระยะ ตามแนวคิดของสตริงเจอ (Stringer, 2014) คือ ดูว่ามีปัญหาอะไร (Look) คิดพิจารณา (Think) และลงมือปฏิบัติ (Act) ตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แนวคำถามในการทำสนทนากลุ่ม การใช้แบบประเมินภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามความรู้โรคหลอดเลือดสมอง และแบบสอบถามพ$... PubDate: 2023-10-02 Issue No: Vol. 10, No. 2 (2023)
Authors: สมฤดี กีรตวนิชเสถียร, ภารดี ชาวนรินทร์, เจือจันทน์ เจริญภักดี, ทิพพาพรรณ เดียวประเสริฐ, สุคนธา ยางสวย Pages: 94 - 107 Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สังเคราะห์จรณะทักษะที่จำเป็นของบัณฑิตพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนและ (2) ศึกษาความต้องการจรณทักษะ ที่จำเป็นของบัณฑิตพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนเขตจังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 7 คนเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง และ (2) กลุ่มผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นและพยาบาลปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนเขตจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 250 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ แบบสอบถาม เรื่องจรณทักษะที่จำเป็นของบัณฑิตพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนเขตจังหวัดสมุทรสาคร มี 2 ตอน เป็นข้อมูลส่วนบุคคล 4 ข้อ และจรณทักษะที่จำเป็นของบัณฑิตพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนเขตจังหวัดสมุทรสาครจำนวน 60 ข้อ เป็น มาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นของแบบวัด 0.958 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แ... PubDate: 2023-10-19 Issue No: Vol. 10, No. 2 (2023)
ถอดบทเรียนความสำเร็จการบริหารจัดการ การควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พื้นที่ของศูนย์บริการสาธารณสุขบ้านศรีหมวดเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง Authors: สมพร ทอดเสียง, บุศรินทร์ ผัดวัง, ธีรารัตน์ บุญกุณะ, อุษณีย์ วรรณาลัย Pages: 108 - 124 Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จการบริหารจัดการ การควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 โดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พื้นที่ของศูนย์บริการสาธารณสุขบ้านศรีหมวดเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 256 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามกึ่งโครงสร้างจำนวน 7 ข้อและทีมผู้วิจัย ที่ดำเนินกระบวนการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาจากการถอดเทป ผลการวิจัยพบว่า ความสำเร็จการบริหารจัดการ แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ 1) ช่วงก่อนการระบาด มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำรวจพื้นที่ ติดตามข่าวสารสถานการณ์การระบาด และ เยี่ยมบ้านเชิงรุก 2) ช่วงการระบาด ปฏิบัติการบริการด่านหน้า มีต้นทุนสนับสนุน มีช่องทางสื่อสาร และธรรมนูญป้องกันโควิด 3) ช่วงผ่อนคลาย เป็นช่วงที่ต้องควบคุมกำกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ได้ประยุกต์การพัฒนา/อบรมความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในชุมชน อย่างเต็มศักยภาพ ส่ว... PubDate: 2023-10-20 Issue No: Vol. 10, No. 2 (2023)
Authors: ณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์, ยงยุทธ แก้วเต็ม Pages: 125 - 143 Abstract: วิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 212 คน ในคลินิกหมอครอบครัว เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการประชุมระดมความคิดเห็นกับกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานในคลินิกหมอครอบครัว จำนวน 61 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติพรรณนา และ สถิติอนุมานการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม Smart PLS 4.0 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังในคลินิกหมอครอบครัวในเรื่องปัจจัยสุขภาพ เป้าหมายการรักษา อยู่ในระดับมาก (x= 3.95, SD = .80 และ x = 3.73, SD = .97) ส่วนปัจจัยในเรื่องแผนการรักษา การปฏิบัติตน และผลของการรักษาอยู่ในระดับปานกลาง (x= 3.40, SD = 1.18, = 3.04, SD = .80, x= 3.03, SD = 0.95) ตามลำดับ โดยรูปแบบการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง คือ ปัจจัยการปฏิบัติตนของผู้ป่วยเป็นตัวแปรคั่นกลางของความสำเร็จของผลลัพธ์ของการรักษา โดยมีปัจจัยสุขภาพและการมีเป้าหมายการรั#... PubDate: 2023-11-16 Issue No: Vol. 10, No. 2 (2023)
ผลของการสอนแบบใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยประสบการณ์ ต่อการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ด้านความรู้ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา และการปฏิบัติการพยาบาล Authors: จันทร์จีรา ยานะชัย, ประจวบ แหลมหลัก, อัจฉรา สิทธิรักษ์ Pages: 144 - 162 Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนแบบใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยประสบการณ์ ในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษา ด้านความรู้ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา และการปฏิบัติการพยาบาล รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง จำนวน 127 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเข้า กลุ่มทดลองจำนวน 64 คน ได้รับการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติด้วยวิธีการใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยประสบการณ์ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์และวิธีปกติระยะเวลา 2 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมจำนวน 63 คนได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีปกติระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแนวทางการสอนแบบการใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยประสบการณ์ มีแบบประเมินสมรรถนะ3 ชุดคือ ชุดที่ 1 ด้านความรู้ ชุดที่ 2 ด้านการคิดแบบมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา และชุดที่ 3 ด้านการปฏิบัติการพยาบาล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานใช้ การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระจากกัน และไมŭ... PubDate: 2023-11-16 Issue No: Vol. 10, No. 2 (2023)
ปัจจัยทำนายภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง Authors: ภาณุมาศ คุณยศยิ่ง, ปาริชาติ ตุลาพันธุ์, ณัฐธิดา เชียงดี, อุบลวรรณ กัญจนพรเจริญ, รัตน์ดา อุดมธาดา Pages: 163 - 178 Abstract: การวิจัยปัจจัยทำนาย (Predictive design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล ระดับความรู้ ความเชื่อ ภาวะโภชนาการ และปัจจัยทำนายภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์กับโรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง จำนวน 137 คน คัดเลือกแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์ และแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล ความเชื่อ และความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์หาปัจจัยทำนายภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์จากกราฟโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ (Vallop curve) โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบพหุ (multinomial logistic regression) ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุ 20-34 ปี ร้อยละ 74.5 เป็นครอบครัวเดี่ยว ร้อยละ 60.9 ตั้งครรภ์ที่ 2 ร้อยละ 43.1 ระดับการศึกษาตั้งแต่ ปวช./ปวส.ขึ้นไป ร้อยละ 48.9 BMI ก่อนการตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 46.0 และภาวะโภชนาการอยู่ในระดับดี ร้อยละ 65.7 ความเชื่... PubDate: 2023-11-22 Issue No: Vol. 10, No. 2 (2023)
ผลของโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนต่อความรู้ และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 Authors: พิริพัฒน์ เตชะกันทา, ภูมินทร์ ดวงสุริยะ, สุชาติ เครื่องชัย Pages: 179 - 190 Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนต่อความรู้ และทักษะช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 และไม่เคยผ่านการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดการเรียนการสอนฯ แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่น 1.0, 0.95 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติค่าทีแบบจับคู่ (paired sample t–test) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน หลังเข้าโปรแกรม (M=17.2, SD=4.84) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (M=2.52, SD=1.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=20.08, p<.05) ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน หลังเข้าโปรแกรม (M=9.40, SD= .75) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (M=3.48, SD=1.19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=30.94, p<.05) ดังนั้นโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนต... PubDate: 2023-11-30 Issue No: Vol. 10, No. 2 (2023)
|