Subjects -> ARCHAEOLOGY (Total: 300 journals)
| A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z | We no longer collect new content from this publisher because the publisher has forbidden systematic access to its RSS feeds. |
|
|
Authors: ธิฆัมพร บุญชัย, ไชยพิพัฒน์ ปกป้อง Pages: 1 - 16 Abstract: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณขยะและจำแนกชนิดของขยะบนชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบพัฒนาอุปกรณ์เก็บขยะบนชายหาด โดยทำการลงพื้นที่สุ่มสำรวจพื้นที่ชายหาดจำนวน 3 จุด มีพื้นที่รวมทั้งหมด 27 ตารางเมตร ซึ่งในแต่ละจุดพื้นที่เป้าหมายได้ทำการกั้นพื้นที่ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร ลึกจากผิวหน้าหาดทรายลงไปไม่เกิน 5 เซนติเมตร มีการเก็บข้อมูล 3 ครั้งคือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ โดยการใช้อุปกรณ์ตะแกรงที่มีรูขนาด 3 มิลลิเมตร มาใช้ในการกรองขยะออกจากทราย ทำการแยกขยะที่ได้มาจากแต่ละหาดจำแนกประเภทของขยะ จากการสำรวจพบจำนวนขยะเฉลี่ยทั้งหมด 57,010 ชิ้นต่อวัน บนชายหาดพื้นที่ 1,890 ตารางเมตร โดยการเก็บขยะในวันจันทร์ จะมีปริมาณขยะมากที่สุด และ วัน พุธ มีปริมาณขยะน้อยที่สุด เมื่อจำแนกชนิดของขยะพบว่า มีขยะทั้งหมด 20 ชนิด โดยขยะที่พบมากที่สุดคือ เส้นพลาสติกที่เกิดจากการแตกตัวของเชือกที่ใช้ในอุตสาหกรรมประมงหรือเชือกพลาสติก โดยมีปริมาณเฉลี่ย 75.233 ชิ้น หรือร้อยละ 28 ของพื้นที่ขนาด 27 ตารางเมตร รองลงมาค... PubDate: 2023-01-26 DOI: 10.14456/bei.2023.1 Issue No: Vol. 22, No. 1 (2023)
การประเมินหลังการใช้งานภายในอาคารปฏิบัติธรรม วัดมัชฌันติการาม กรุงเทพมหานคร Authors: สุพัตรา ซ้วนลิ่ม Pages: 18 - 33 Abstract: อาคารปฏิบัติธรรม วัดมัชฌันติการาม กรุงเทพมหานคร หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยอาคารปฏิบัติธรรมนี้ได้ก่อสร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อให้ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมมีพื้นที่ใช้งานที่ชัดเจน จากเดิมที่ใช้พื้นที่สวนและอาคารอื่น ๆ ของวัด หลังจากมีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมที่เกิดขึ้นมาหลากหลายประเภททั้งกิจกรรมทางศาสนา และกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ ที่วัดมีส่วนเกี่ยวข้อง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานภายในอาคารปฏิบัติธรรม วัดมัชฌันติการาม (2) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานภายในอาคารปฏิบัติธรรม วัดมัชฌันติการาม (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ภายในอาคารปฏิบัติธรรม วัดมัชฌันติการามให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้ใช้งานในปัจจุบัน มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ใช้งานอาคารปฎิบัติธรรมช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2565 จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอ... PubDate: 2023-03-08 DOI: 10.14456/bei.2023.2 Issue No: Vol. 22, No. 1 (2023)
การศึกษาอัตลักษณ์ไทหล่มเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบปรับปรุงพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดโพธิ์ทองน้ำครั่งแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมทางวัตถุโบราณ จังหวัดเพชรบูรณ์ Authors: ดวงฤทัย ตี่สุข Pages: 35 - 53 Abstract: บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ และวัฒนธรรมเชิงวัตถุของชาวไทหล่ม อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อศึกษาแนวคิด และความต้องการการออกแบบปรับปรุงพิพิธภัณฑ์แบบชุมชนมีส่วนร่วม และเพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์ โดยมีวิธีเก็บข้อมูล 4 ส่วน ดังนี้ 1) การศึกษาเอกสาร ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมไทหล่ม 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก ด้านแนวคิดการออกแบบปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ร่วมกับผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน 3) การเก็บแบบสอบถาม ด้านความต้องการการออกแบบปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ จำนวน 100 คน และ 4) การประเมินผลการออกแบบพิพิธภัณฑ์จากกลุ่มประชากร จำนวน 50 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน จากผลการศึกษา พบว่า อัตลักษณ์ไทหล่มที่มีคุณค่า มี 2 ประเภท ดังนี้ 1. อัตลักษณ์วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อัตลักษณ์วัฒนธรรมการแห่ปราสาทผึ้งและอัตลักษณ์วัฒนธรรมการแทงหยวก 2. อัตลักษณ์วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมบ้านเรือนและสถาปัตยกรรมทางศาสนา ได้แก่ เรือ&... PubDate: 2023-03-10 DOI: 10.14456/bei.2023.3 Issue No: Vol. 22, No. 1 (2023)
อุณหภูมิผิวหนังและความรู้สึกเชิงความร้อน: Authors: กวีวรรณ อินทรชาธร, ดารณี จารีมิตร, ศีตภา รุจิเกียรติกำจร Pages: 55 - 72 Abstract: สภาวะน่าสบายภายในอาคารเป็นเป้าหมายที่สําคัญในการออกแบบอาคารและการจัดการในอาคารเนื่องจากมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อของผู้ใช้อาคารในหลายมิติ แบบจำลองสภาวะน่าสบายเชิงบุคคล (PCM) เป็นแนวทางใหม่ในการประเมินสภาวะน่าสบายซึ่งมุ่งแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลซึ่งเป็นข้อจำกัดของแบบจำลองดั้งเดิม PCM มุ่งที่จะทำนายสภาวะน่าสบายของผู้ใช้อาคารแต่ละคนโดยอาศัยการตอบสนองโดยตรงจากผู้ใช้ ผิวหนังเป็นส่วนของร่างกายที่สำคัญในกลไกควบคุมอุณหภูมิดังนั้นอุณหภูมิผิวหนังจึงถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาก่อนหน้า อย่างไรก็ดีการศึกษาเกี่ยวกับ PCM นี้ยังอยู่ในวงจำกัด ดังนั้นในการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุณหภูมิผิวหนังใบหน้า ลักษณะการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิผิวหนัง และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวหนังใบหน้ากับความรู้สึกเชิงความร้อนภายใต้สภาพอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแบบจำลองสภาวะน่าสบายเชิงบุคคลที่อาศัยอุณหภูมิผิวหนังของผู้ใช้อาคารในสภาพอากาศร้อนชื้น การว... PubDate: 2023-03-10 DOI: 10.14456/bei.2023.4 Issue No: Vol. 22, No. 1 (2023)
พฤติกรรมการใช้พื้นที่สาธารณะของกลุ่มคนรุ่นใหม่ กรณีศึกษา “เมืองขอนแก่น” Authors: นันทนัช แจ่มสุวรรณ, มนสิชา เพชรานนท์ Pages: 73 - 92 Abstract: บทความนี้เป้าหมายหลักคือ การสำรวจพฤติกรรม ความต้องการใช้พื้นที่สาธารณะ และความรู้สึกด้านจิตใจ อารมณ์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีต่อพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาคุณลักษณะพื้นที่สาธารณะที่ตอบสนองวิถีชีวิตของกลุ่มคนรุ่นใหม่ “เมืองขอนแก่น” โดยใช้วิธีการเก็บแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างช่วงอายุ 13 – 35 ปี จำนวน 431 คน ผลการศึกษา พบว่าพื้นที่สาธารณะที่กลุ่มตัวอย่างคนรุ่นใหม่นิยมเลือกเข้าใช้และเข้าใช้เป็นระยะเวลานาน คือ พื้นที่สาธารณะประเภท Co-working Space รูปแบบร้านกาแฟ และสวนสาธารณะ เนื่องจากพฤติกรรมของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบการใช้เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก รักสุขภาพและความสะอาด และต้องการประกอบกิจกรรมทางการควบคู่กับการพักผ่อน อีกทั้งกิจกรรมที่ทำสามารถสะท้อนถึงความรู้สึก และสร้างความหมายต่อผู้ใช้ ด้วยลักษณะของพื้นที่ สภาพแวดล้อมในพื้นที่ PubDate: 2023-03-27 DOI: 10.14456/bei.2023.5 Issue No: Vol. 22, No. 1 (2023)
การให้ค่าน้ำหนักตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองเดินได้โดยประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytical Hierarchy Process : AHP) Authors: ศุภการย์ พอสอน, มนสิชา เพชรานนท์ Pages: 93 - 109 Abstract: บทความในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการพิจารณาให้ค่าน้ำหนักความสำคัญตัวชี้วัดความเป็นเมืองเดินได้ของเมืองขอนแก่น (Walkable City) จาก 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ระบบกิจกรรมในพื้นที่ของเมือง 2) สภาพแวดล้อมทางกายภาพของถนนและทางเดินเท้า 3) คุณภาพและประสิทธิภาพของระบบขนส่งสาธารณะ 4) ปฏิกิริยาของผู้คนต่อสภาพแวดล้อมของเมือง 5) คุณภาพของงานออกแบบชุมชนเมือง 6) สังคมและเศรษฐกิจระดับตัวบุคคลหรือครัวเรือน และมีองค์ประกอบรองรวมทั้งหมด 28 องค์ประกอบรองโดยใช้วิธีการตัดสินแบบหลายหลักเกณฑ์ (Multiple Criteria Decision Marking) ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytical Hierarchy Process : AHP) ซึ่งจะทำการสอบถามความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนกับการพัฒนาเมืองจำนวน 10 คน ผลจากการศึกษา พบว่าองค์ประกอบหลักที่ส่งผลและมีอิทธิพลต่อความเดินได้ของเมือง 3 อันดับแรกคือ 1) ระบบกิจกรรมในพื้นที่ของเมือง 2) คุณลักษณะของสภาพแวดล้อมทางกายภาพของถนนและทางเดินเท้า และ 3) ด้านคุณภาพ / ประสิทธิภาพของระบบขนส่งสาธารณะ PubDate: 2023-03-27 DOI: 10.14456/bei.2023.6 Issue No: Vol. 22, No. 1 (2023)
|