Publisher: Thaksin University (Total: 2 journals) [Sort alphabetically]
|
Similar Journals
![]() |
Journal of Education Thaksin University
Number of Followers: 0 ![]() ISSN (Print) 1513-9514 Published by Thaksin University ![]() |
การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่เชื่อมโยงการบูรณาการข้ามศาสตร์
Authors: วิภาพรรณ พินลา , วิภาดา พินลา
Pages: 1 - 13
Abstract: การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เป็นกระบวนการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่เชื่อมโยงการบูรณาการข้ามศาสตร์ในห้องเรียนของครูสังคมศึกษา โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมกันสังเกตปรากฏการณ์ที่สนใจ และพบได้ในโลกแห่งความเป็นจริงในเชิงสหวิทยาการ เพื่อนำไปสู่การอภิปรายกลุ่มร่วมกันในมุมมองที่กว้างขึ้น ตลอดจนให้ผู้เรียนทราบประเด็นความสนใจ ปัญหา และตั้งข้อสงสัยภายใต้บริบทของปรากฏการณ์ที่สังเกตได้ โดยมีขั้นตอนกระบวนการ 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 เลือกปรากฏการณ์สังคมที่น่าสนใจ ขั้นที่ 2 สังเกตปรากฎการณ์สังคมร่วมกัน ขั้นที่ 3 สืบค้นข้อมูลปรากฏการณ์สังคม ขั้นที่ 4 ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ขั้นที่ 5 นำเสนองานและสะท้อนคิด และขั้นที่ 6 ประเมินตามสภาพจริง โดยแต่ละขั้นตอนสามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกลุ่ม การได้ลงมือปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่การต่อยอดองค์ความรู้และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
- สมรรถนะดิจิทัล:
Authors: กิตติพศ โกนสันเทียะ, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ, เอกภูมิ จันทรขันตี, เอกรัตน์ ทานาค
Pages: 14 - 23
Abstract: ความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของครูในยุคดิจิทัลไม่ใช่เพียงความสามารถในการใช้สื่อ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนรู้ แต่ครูในยุคนี้จำเป็นต้องมีสมรรถนะดิจิทัล ซึ่งหมายถึงชุดของทักษะหรือแหล่งรวมทักษะที่มีการผสมผสานระหว่าง ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเพื่อใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์ เหมาะสม ปลอดภัย และมีจริยธรรม อย่างไรก็ตามยังไม่มีการกำหนดกรอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูไทยอย่างชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากประเทศในกลุ่มยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังนั้นบทความนี้จึงขอนำเสนอองค์ประกอบของสมรรถนะดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้สำหรับครูที่ได้จากการศึกษากรอบแนวคิดของต่างประเทศซึ่งประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมวิชาชีพ 2.การสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ 3.การจัดการทรัพยากรดิจิทัลทางการศึกษา 4.การวัดประเมินผล 5.การสอนและการเรียนรู้ 6.การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน และ 7.จริยธรรมและความปลอดภัย
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
มุมมองของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมแบบเน้นภาระงาน
Authors: นิชฎารัสมิ์ รักษาสัตย์, อาภรณ์ชนิศ แสงสังข์
Pages: 24 - 39
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการแปล โดยเน้นการศึกษาเพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรูปแบบการเน้นภาระงาน (a task-based learning approach) สำหรับรายวิชาการแปลนั้น ผู้ทำวิจัยพบว่าแม้จะมีการเน้นการทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกฝนทักษะการแปล แต่การเรียนรู้ในห้องเรียนส่วนใหญ่ยังคงเน้นการสอนที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ด้วยเหตุนี้ ผู้ทำวิจัยจึงมีความสนใจเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนารูปแบบการสอนรายวิชาการแปลให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดการสร้างความรู้และพัฒนาตนเองให้ได้มากที่สุด เนื่องจากทักษะการแปลภาษาถือเป็นทักษะที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับสังคมในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ภาษาถือเป็นเครื่องมือหรือตัวกลางสำคัญในการขับเคลื่อนการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Kapur, 2014, หน้า 55) ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนิสิตเอกภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรี จำนวน 94 คน และอาจารย์ผู้สอนรายวิชาการแปล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสังเกตการเรียน#...
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในยุค
New Normal
เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
สำหรับนักศึกษาครู
Authors: สุดาพร ปัญญาพฤกษ์
Pages: 40 - 54
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในยุค New normal และเพื่อศึกษาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาครู โดยการใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในยุค New normal กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย คณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2564 โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา จำนวน 25 คน ในรายวิชา ESS 4801 การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โปรแกรมวิชาเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โครงการสอนรายวิชา ESS 4801 การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาระดับประถมศึกษา ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มี 4 ด้าน มีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกในยุค New Normal เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจความพร้อม 2) กระตุ้นการคิด 3) ผลิŨ...
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
Authors: ฉันชัย จันทะเสน
Pages: 55 - 66
Abstract: การเรียนรู้แบบสืบเสาะ เป็นยุทธวิธีในการจัดการเรียนการรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ครูวิทยาศาสตร์นิยมใช้ แต่ปัญหาในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกิดจากการที่นักเรียนมีแนวความคิดเดิมอยู่ก่อนแล้ว และส่วนมากแตกต่างไปจากแนวความคิดของนักวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งขัดขวางการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และยากที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง นอกไปจากนั้นในระหว่างทำการทดลอง นักเรียนทำการทดลองอย่างไม่มีเป้าหมาย ไม่รู้ว่าทำการทดลองไปเพื่ออะไร ซึ่งทำให้นักเรียนไม่ได้รับประสบการณ์เช่นเดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์ได้รับ การรู้คิดน่าจะเป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้บรรลุเป้าหมาย การรู้คิด เป็นความสามารถในการตรวจสอบการคิดของตนเอง รู้และเข้าใจว่าตัวเองรู้อะไร และไม่รู้อะไร ดังนั้นหากบุคคลใดมีการรับรู้และเข้าใจอย่างชัดเจนในการรู้คิดของตนเองหรือการมีความตระหนักรู้ในการรู้คิดอยู่ในตนเอง ก็จะสามารถกำกับตนเองให้ไปสู่เป้าห...
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์
ด้านการสอนเพื่อส่งเสริมการสร้างแบบจำลองของนักเรียน
Authors: สุริยะ คุณวันดี, อุษณี ลลิตผสาน
Pages: 67 - 77
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ด้านการสอนเพื่อส่งเสริมการสร้างแบบจำลองของนักเรียน ระหว่างครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นครูวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิจำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าจำนวน 10 ข้อ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความต้องการจำเป็นด้วยดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของครูวิทยาศาสตร์ด้านการสอนเพื่อส่งเสริมการสร้างแบบจำลองของนักเรียนในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีความต้องการจำเป็นมากกว่าครูวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แ...
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
- การปรับตัว
และแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ของครูคหกรรมศาสตร์
Authors: นฤมล ศราธพันธุ์, นฤมล ศราธพันธุ์, นฤมล ศราธพันธุ์, สุวิมล อุไกรษา, คันธารัตน์ ยอดพิชัย
Pages: 78 - 92
Abstract: การแพร่ระบาดของโควิด -19 ก่อให้เกิดวิถีปกติใหม่ โดยเฉพาะในด้านการจัดการศึกษาที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจัดการเรียนรู้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวและแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ของครูคหกรรมศาสตร์การศึกษาขั้นพื้นฐานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) กับครูคหกรรมศาสตร์ที่สอนในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เป็นครูประจำการ โรงเรียนสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีประสบการณ์การสอนในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 3 ปี อยู่กลุ่มสาระการงานอาชีพ มีประสบการณ์ในการสอนช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ร่วมกับวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) ผลการวิจัย พบว่า ครูคหกรรมศาสตร์จัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ใน 3 ช่วงแตกต่างกัน&...
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
การพัฒนาระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคัน
ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Authors: จาริยา สุทธินนท์, มณฑนา พิพัฒน์เพ็ญ, ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี, ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี, ศรีสุดา วนาลีสิน
Pages: 93 - 107
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีปัญหาการออกกลางคัน มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย 4) ประเมินระบบการดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคใต้ของประเทศไทย
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
Authors: สุวิมล ใจยศ
Pages: 108 - 118
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และการใช้คำบุพบทภาษาอังกฤษทั้งคำบุพบทอิสระและคำบุพบทไม่อิสระของนิสิตระดับปริญญาตรีชาวไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาโท จำนวน 50 คน จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบทดสอบการรับรู้ (การตัดสินเกี่ยวกับไวยากรณ์) และการใช้คำบุพบทภาษาอังกฤษ (การเขียน) ทั้งคำบุพบทอิสระและคำบุพบทไม่อิสระ โดยเครื่องมือวิจัยที่ใช้ได้นำมาจากเครื่องมือวิจัยของเรืองจรูญ (2558) ข้อสอบแต่ละข้อในแบบทดสอบทั้ง 2 ชุดเป็นข้อสอบแบบคู่ขนานกัน งานวิจัยนี้ได้ใช้การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ (Paired Sample T-test) ในการเปรียบเทียบคะแนนการรับรู้และการใช้คำบุพบทภาษาอังกฤษทั้งคำบุพบทอิสระและคำบุพบทไม่อิสระของนิสิตกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า นิสิตได้คะแนนการรับรู้คำบุพบทภาษาอังกฤษสูงกว่าคะแนนการใช้คำบุพบทภาษาอังกฤษ นอกจากนี้นิสิตยังได้คะแนนการรับรู้คำบุพบทและการใช้คำบุพบทอิสระสูงกว่$...
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
ความเข้าใจของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6
Authors: ณภัทร สุขนฤเศรษฐกุล, ชาตรี ฝ่ายคำตา
Pages: 119 - 132
Abstract: อภิความรู้การสร้างแบบจำลอง เป็นแนวคิดพื้นฐานทางแบบจำลองที่ทำให้ทราบธรรมชาติและเป้าหมายทางญาณวิทยาของแบบจำลองในเชิงชัดแจ้ง แนวคิดดังกล่าวมีความสำคัญเทียบเท่ากับแนวคิดการปฏิบัติทางแบบจำลอง ซึ่งทั้งสองแนวคิดจำเป็นต้องศึกษาและพัฒนาไปอย่างคู่ขนาน เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายของการมีสมรรถนะการสร้างแบบจำลองที่สอดคล้องกับนักวิทยาศาสตร์ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจอภิความรู้การสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งสิ้น 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความเข้าใจอภิความรู้การสร้างแบบจำลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อจัดกลุ่มและหาระดับความเข้าใจอภิความรู้การสร้างแบบจำลองของผู้เรียน ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจอภิความรู้การสร้างแบบจำลองจัดอยู่ในกลุ่มผู้เริ่มต้น (ระดับที่ 1) ในทุกมุมมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมมองด้านความรู้ในการรู้คิดของกระบวนการสร้างแบบจำลอŧ...
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
ทักษะชีวิตและอาชีพสู่การเสริมสร้างทักษะแห่งอนาคตของประชาชน
บริบทอำเภอสทิงพระ
จังหวัดสงขลา
Authors: เมธี ดิสวัสดิ์, ธนิยา เยาดำ
Pages: 133 - 146
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในบริบทพื้นที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1. สังเคราะห์ทักษะชีวิตและอาชีพ ด้วยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) รวมทั้งร่วมสนทนากลุ่ม (Focus group) กับกลุ่มผู้นำชุมชน/ประชาชน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา 2. ตรวจสอบคุณภาพทักษะชีวิตและอาชีพ ด้วยการสนทนากลุ่มและสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และพิจารณาความถูกต้อง เหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยการวิเคราะห์สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการสังเคราะห์ทักษะชีวิตและอาชีพของประชาชนในอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมกับความคิดเ&...
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
Authors: Junwerlo Ng
Pages: 147 - 163
Abstract: ประเด็นด้านจริยธรรมในการเรียนรู้ออนไลน์เริ่มมีตั้งแต่มีการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ทางไกลในระบบการศึกษา โดยการเรียนรู้ออนไลน์มีประโยชน์หลายประการ ได้แก่ สามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง มีค่าใช้จ่ายที่ถูก มีความยืดหยุ่น และสะดวกสบายในการเข้าชั้นเรียนหรือร่วมชั้นเรียนในพื้นที่ของตนเอง อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านจริยธรรมเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาโดยผู้นำด้านการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครูและนักเรียน บทความฉบับนี้ค้นหาปัญหาทางจริยธรรมจากเทคโนโลยีในการเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งได้ทำการศึกษาจากการวิเคราะห์ของงานวิจัยล่าสุด จำนวน 6 เรื่อง โดยในการศึกษาครั้งนี้ได้นำเสนอประเด็นด้านจริยธรรมจากเทคโนโลยีในการเรียนรู้ออนไลน์ 3 ประเด็น ได้แก่ การทุจริตทางวิชาการ ความเหมาะสมของเทคโนโลยีและการใช้เทคโนโลยี รวมถึงการยินยอมและการรักษาความลับ ซึ่งผลการศึกษาปรากฏว่า การร่วมมือกันเพื่อคัดลอกและทุจริตทางวิชาการโดยใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างการสอบเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในกรณีการทุจริตในระบบ...
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มและเอส
ที เอ ดี
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
4
Authors: นวพร พรหมพิลา, เกริก ศักดิ์สุภาพ
Pages: 164 - 175
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มและเอส ที เอ ดี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มและเอส ที เอ ดี 2) แบบประเมินความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรง และ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ในรายวิชาฟิสิกส์ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test for dependent sample , t-test for one samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การเคลื่อนที่แนวตรงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 60) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีพัฒนาการความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสูงขึ้นจากเดิม และ 3) นักเรียนมีเจตคติŨ...
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)
ผลการจัดกิจกรรมประกอบอาหารอาเซียนที่มีต่อการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรม
ของเด็กปฐมวัย
Authors: นันท์นภัสร์ พันธุวงศ์, ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร
Pages: 176 - 188
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารอาเซียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นเด็กชั้นอนุบาลจำนวน 9 คน ที่กำลังศึกษาระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1- 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดขนอน(ศรัทธาสุวรรณราษฎร์อุปถัมภ์) อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารอาเซียน และแบบสังเกตพฤติกรรมการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าเด็กปฐมวัยมีการตระหนักรู้ทางวัฒนธรรมสูงขึ้นหลังจากการได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหารอาเซียน โดยด้านการเข้าใจวัฒนธรรมตนเองมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรมเท่ากับ 3.00 และหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 9.00 รองลงมาคือด้านการเข้าใจวัฒนธรรมผู้อื่น มีคะแนนเฉลี่ยก่อนจัดกิจกรรมเท่ากับ 3.22 และหลังการจัดกิจกรรมเท่ากับ 9.00 และด้านการมีปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒ...
PubDate: 2022-12-28
Issue No: Vol. 22, No. 2 (2022)